คลังความรู้>ประเภทและการบ่งชี้สารเคมี

การแบ่งกลุ่มสารเคมี (GHS)

Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemical (GHS) หมายถึง ระบบ หรือวิธีการสากลสำหรับการจำแนกความเป็นอันตรายของ สารเคมี (สารเดี่ยว สารผสม สารละลาย และอัลลอยด์) และการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีโดยผ่าน ทางฉลาก และข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety data sheet, SDS)

การจำแนกความเป็นอันตรายของระบบ GHS แบ่งออกเป็น ความเป็นอันตรายทางกายภาพ 17 ประเภท , ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 10 ประเภท,
และ ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 2 ประเภท

การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพ

แบ่งได้ 17 ประเภท ดังนี้

1. วัตถุระเบิด (Explosives)
2. ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases)
3. ละอองลอย (Aerosols)
4. ก๊าซออกซิไดส์ (Oxidizing Gases)
5. ก๊าซภายใต้ความดัน (Gases Under Pressure)
6. ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)
7. ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids)
8. สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง (Self-Reactive Substances and Mixtures)
9. ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric Liquids)
10. ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric Solids)
11. สารที่เกิดความร้อนได้เอง (Self-Heating Substances and Mixtures)
12. สารที่สัมผัสน้าแล้วให้ก๊าซไวไฟ (Substances and Mixtures which,
in Contact with Water, Emit Flammable Gases)
13. ของเหลวออกซิไดส์ (Oxidizing Liquids)
14. ของแข็งออกซิไดส์ (Oxidizing Solids)
15. สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Organic Peroxides)
16. สารกัดกร่อนโลหะ (Corrosive to Metals)
17. สารที่มีการหน่วงการระเบิด (Desensitized explosive)

การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายทางสุขภาพ

แบ่งได้ 10 ประเภท ดังนี้

1. ความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity)
2. การกัดกร่อนการระคายเคืองต่อผิวหนัง (Skin corrosion/irritation)
3. การทำลายดวงตาอย่างรุนแรง / การละคายเคืองต่อดวงตา
(Serious eye damage/eye irritation)
4. ความไวต่อการแพ้กับระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง
(Respiratory/skin sensitization)
5. การกลายพันธ์ุของเซลล์สืบพันธ์ุ (Germ cell mutagenicity)
6. ความสามารถในการก่อมะเร็ง (Carcinogenicity)
7. ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์ุ (Reproductive toxicity)
8. ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง การได้รับสัมผัส
ครั้งเดียว (Specific target organ toxicity-single exposure)
9. ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง การได้รับสัมผัสซ้ำ
(Specific target toxicity-repeated exposure)
10. ความเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างหรือทำให้ปอดอักเสบ
(Aspiration hazard)

การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ
2. ความเป็นอันตรายต่อโอโซนในชั้นบรรยากาศ

รูปสัญลักษณ์ GHS
(GHS Pictograms)

Hazard Classes and Categories

สารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเรื้อรัง ได้แก่ สารก่อมะเร็ง, สารกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง, สารที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์, สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์, สารที่เป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง, และ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างหรือทำให้ปอดอักเสบ (ประเภทความเป็นอันตรายทางสุขภาพ 4-7, 9, 10)

Flame

ก๊าซไวไฟ, สารละอองลอยไวไฟ, ของเหลวไวไฟที่มีจุดวาปไฟไม่เกิน 93 C, ของแข็งไวไฟ, ของแข็งที่อาจลุกไหม้ได้ง่าย อันเนื่องมาจากการเสียดสีของสารหรือเสียดสีกับสารข้างเคียง เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสไตรซัลไฟด์, สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง, ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ, ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ เช่น ฟอสฟอรัสขาว, สารที่เกิดความร้อนได้เอง , สารที่สัมผัสน้าแล้วให้ก๊าซไวไฟ เช่น โลหะโซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียมคาร์ไบด์, สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์, และ สารที่มีการหน่วงการระเบิด(ประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพ 2, 3, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 15, 17)

Exclamation Mark

สารที่เป็นพิษเฉียบพลันที่มีความเป็นพิษต่ำ, สารที่ก่อให้เกิดการละคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา, และสารที่ก่อให้เกิดการแพ้กับระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง หรืออาจทาให้ง่วงซึมหรือมึนงง, สารที่เป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง, และ เป็นอันตรายต่อโอโซนในชั้นบรรยากาศ (ประเภทความเป็นอันตรายทางสุขภาพ 1-4, 8 และ ประเภทความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 2)

Gas Cylinder

ก๊าซภายใต้ความดัน คือ ก๊าซในภาชนะที่มีความดัน มากกกว่าหรือเท่ากับ 200 kPa (gauge) ที่ 20°C แบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ Compressed gas, Liquefied gas, Refrigerated liquefied gas, Dissolved Gas (ประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพ 5)

Corrosion

สารกัดกร่อนโลหะ, สารกัดกร่อนที่ทำลายเนื้อเยื่อ, สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง, ต่อดวงตา หรือทำลายดวงตาอย่างรุนแรง, และสารที่ก่อให้เกิดการแพ้กับระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนังเช่น กรดซัลฟิวริก กรดไนตริก กรดไฮโดรคลอริก กรดฟอสฟอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น (ประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพ 16 และ ประเภทความเป็นอันตรายทางสุขภาพ 2-4)

Exploding Bomb

วัตถุระเบิด, สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง, และ สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (ประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพ 1, 8, 15)

  • วัตถุระเบิด คือ สารหรือสารผสม ในสถานะของแข็งหรือของเหลว ที่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีอย่างรวดเร็วแล้วให้ก๊าซที่มีอุณหภูมิและความดันสูงจน สามารถทาความเสียหายให้กับสิ่งต่าง ๆ โดยรอบ สารไพโรเทคนิคถือว่าเป็น วัตถุระเบิดด้วยถึงแม้ว่าสารดังกล่าวนี้จะไม่เปลี่ยนเป็นก๊าซ
  • สารไพโรเทคนิคเป็นสารเดี่ยวหรือสารผสมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้ความร้อน แสง สว่าง เสียง ก๊าซ ควัน หรือการผสมผสานของสิ่งเหล่านี้ทาให้เกิดปฏิกิริยาคาย ความร้อนด้วยตนเองที่ไม่ระเบิด
  • สารเคมีที่ทำปฏิกิริยาได้เอง คือ สารเดี่ยวหรือสารผสมในสถานะของแข็งหรือของเหลว ที่ไม่เสถียรทางความร้อน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดการสลายตัวระดับโมเลกุลทาให้เกิด ความร้อนอย่างรุนแรง แม้ในภาวะที่ไม่มีออกซิเจน (อากาศ)
  • สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ คือสารไม่เสถียร ที่จะสลายตัวเมื่อถูกความร้อน การสลายตัวอาจรุนแรงจนเกิดระเบิดได้

Flame over Circle

ก๊าซออกซิไดส์ หรือก๊าซที่มีสมบัติเป็นตัวออกซิไดซ์ ซึ่งเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนแล้วเกิดเผาไหม้หรือช่วยให้เกิดเผาไหม้ได้ เช่น อาร์กอน
ฮาโลเจน ไนโตรเจน ไนโตเจนไตรออกไซด์ ไนตรัส ออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ คลอโรไดฟลูออโรมีเทน , ของเหลวออกซิไดส์, และ ของแข็งออกซิไดส์ที่ช่วยให้ไฟติดได้โดยการปล่อยออกซิเจนออกมา เช่น อะลูมิเนียมไนเตรท แอมโมเนียมไนเตรท โพแทสเซียมคลอเรท (ประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพ 4, 13, 14)

Environment

สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ (ประเภทความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 1)

Skull and Crossbones

สารที่เป็นพิษเฉียบพลันที่มีความเป็นพิษสูง (ประเภทความเป็นอันตรายทางสุขภาพ 1)

นอกจากนี้ความอันตรายของสารยังแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ประเภท คือ
1. วัตถุแพร่เชื้อได้ หรือ วัตถุที่มีส่วนประกอบของเชื้อโรค หรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค แบคทีเรีย พยาธิ เชื้อรา ฯลฯ
2. วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่สลายตัวให้กัมมันตภาพรังสีออกมาเกิน 0.002 ไมโครคูรีต่อน้ำหนักสาร 1 กรัม
3. ก๊าซพิษ ก๊าซที่สลายตัวให้ก๊าซพิษ รั่วไหลติดไฟแล้วให้ก๊าซพิษ หรือเผาไหม้แล้วให้ก๊าซพิษ เช่น คลอรีน โบรอนไตรฟลูออไรด์ อะเซทิลิน โบรโมไตรฟลูออโรเอธิลีน
บิวทา-ไดอีน อีเทน เอธิลีน ไฮโดรเจน และมีเทน เป็นต้น หากเกิดรั่วไหลออกมาจะทำให้หายใจไม่ออก เพราะก๊าซออกซิเจนในอากาศเจือจางลง

ป้ายแสดงถึงอันตรายของสารเคมี (NFPA)

บ่งบอกให้ทราบถึงความรุนแรงของสารเคมี ตามมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ซึ่งป้ายจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม รูปข้าวหลามตัด (diamond sign) แบ่งเป็น 4 ส่วน มองดูเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด 4 รูปติดกัน ดังรูป โดยในแต่ละรูปสี่เหลี่ยมเล็ก จะแบ่ง ออกเป็น 4 สี

  • – สีแดง ความไวไฟอยู่ด้านบนสุด
  • – สีน้ำเงิน ผลของสารเคมี ที่มีต่อสุขภาพ อยู่ด้านซ้าย
  • – สีเหลือง ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา
  • – สีขาว ข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม